Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

BOOTH & SHOWCASE

ZONE C
Organization
C1
วช. วิจัยและนวัตกรรม เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
BY. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ National Research Council of Thailand (NRCT)
C2
Biodiversity for Sustainable Development
BY. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย THE THAILAND RESEARCH FUND
C3
The living room research for life
BY. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT) 
C4
The Value of Biodiversity จากความหลากหลายทางชีวภาพ สู่การนำไปใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่า
BY. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี Rajamangala University of Technology Thanyaburi
C5
เครือข่ายพันธมิตรด้านธุรกิจเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Business and Biodiversity Network Alliance) และบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (IUCN Red List of Threatened Species)
BY. องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ International Union for Conservation of Nature (IUCN)
C6
Biodiversity Finance Initiative (BIOFIN)
BY. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทย The United Nations Development Programme (UNDP)
C7
โครงการ พรรณพฤกษชาติประเทศไทย (Flora of Thailand)
BY. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation
C8
Biodiversity and Participation of Community
BY. กรมป่าไม้ Royal Forest Department
C9
การกลับมาของเต่ามะเฟือง
BY. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง Department of Marine and Coastal Resources
C10
บทบาทของสวนสัตว์ในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ (Zoo's roles for protecting biodiversity)
BY. องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ Zoological Park Organization under the Royal Patronage of H.M. the King
ZONE C : C9

การกลับมาของเต่ามะเฟือง

หน่วยงาน :

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
Department of Marine and Coastal Resources

เต่ามะเฟือง เป็นเต่าที่ทะเลมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเต่าทะเล ๕ ชนิด ที่พบได้ในประเทศไทยและยังเป็นเต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นการขึ้นมาวางไข่บนชายหาดของประเทศไทยนานถึง ๕ ปี นับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ในปีที่ผ่านมาและปีนี้ (๒๕๖๑ – ๒๕๖๒) เราพบการขึ้นมาวางไข่ของแม่เต่ามะเฟืองถึง ๓ ครั้ง ที่หาดคึกคัก และหาดท่าไทร จังหวัดพังงา ทำให้มีลูกเต่ามะเฟืองที่สามารถคลานลงสู่ทะเลได้ทั้งสิ้น ๑๒๗ ตัว อันส่งผลสัมฤทธิ์ถึงความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการอนุรักษ์ฟื้นฟูเต่าทะเลที่เป็นสัตว์ทะเลหายาก ซึ่งมีมาตรการต่างๆ ในการปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งวางไข่ และแหล่งหากิน ที่เป็นระบบนิเวศวิทยาที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของเต่ามะเฟือง และในโอกาสแห่งความปีตินี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้ร่วมกับทุกภาคส่วนจัดทำการลงนามในปฏิญญาอนุรักษ์เต่าทะเลแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เพื่อให้กระบวนการมีส่วนร่วมกันทุกภาคส่วน รวม 59 องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และประชาชน โดยเน้นย้ำในกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการร่วมกัน เพื่อรักษาบ้านเกิดให้กับเต่าทะเลได้มีโอกาสกลับมาวางไข่มากยิ่งขึ้นในอนาคต

แม่เต่ามะเฟืองกลบหลุมวางไข่ และตีแปลงหลุมหลอกอีกหลายจุด เพื่อป้องกันศัตรูของไข่เต่า

แม่เต่ามะเฟืองวางไข่และกลบหลุมวางไข่เสร็จแล้ว จึงคลานลงสู่ทะเล

ลูกเต่ามะเฟืองฟักออกจากไข่

เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ย้ายไข่เต่าขึ้นไปในหลุมขุดใหม่ที่พ้นบริเวณน้ำท่วมถึง เพื่อเพิ่มอัตรารอดตายของลูกเต่ามะเฟือง