Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

BOOTH & SHOWCASE

  • ZONE A
    Hornor of HRH Princess Maha Charkri Sirindhorn
    • ZONE B
      Citizen Science
      • B1

        Scientific Illustration with Vichai Malikul from Smithsonian Institute

        Mini Gallery ภาพวาดวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติวิทยา เป็นการจัดแสดงผลงาน และประสบการณ์การทำงานของ อาจารย์วิชัย มะลิกุล

      • B2

        Thai Youth Declaration on biodiversity conservation

        เป็นการจัดแสดงผลงานของเยาวชนที่ประกวดโครงการงานเวทีเยาวชนไทย“อนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติเพื่อความยั่งยืน” (ThailandBiodiversity Youth Forum 2019)

      • B3

        Thailand largest ecology and environment museum project : Rama 9 Museum

        เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ของ อพวช.ที่จะเปิดบริการให้เข้าชมประมาณเดือน ตุลาคม 2562 โดยมุ่งเน้นนำเสนอให้เห็นถึงวิธีการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และกระบวนการค้นหาคำตอบที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการดำรงชีพของประชาชน โดยเฉพาะในท้องถิ่นชนบทที่ห่างไกลเพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร

      • B4

        Values of Biodiversity

        จัดแสดงนิทรรศการในเรื่องที่เกี่ยวกับผลงานวิจัยของนักธรรมชาติวิทยาและ วัตถุตัวอย่างทางธรรมชาติ(Collection) ซึ่งเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์

      • ZONE C
        Organization
        • C1

          วช. วิจัยและนวัตกรรม เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

          สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มเสื่อมโทรมและเสียหายจากผลกระทบหลายด้าน จึงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) จัดทำโครงการการพัฒนาธนาคารเซลล์สัตว์แห่งชาติ โดย “การเก็บรักษาพันธุกรรมในลักษณะเซลล์แช่แข็งชนิดที่มีเทคโนโลยีรองรับการผลิตสัตว์มีชีวิตได้จริง” ในช่วงเริ่มต้นได้เก็บเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดและเซลล์จากตัวอ่อนไก่พื้นเมืองไทย 4 สายพันธุ์หลัก (ไก่ประดู่หางดำ ไก่เหลืองหางขาว ไก่ชี และไก่แดง) ไก่ป่า และไก่ฟ้าประจำถิ่น โดยขั้นตอนต่อไปจะนำเซลล์แช่แข็งไปผลิตเป็นสัตว์มีชีวิตได้จริง และโครงการเก็บรักษาสายพันธุ์ความหลากหลายทางชีวภาพของกระบือไทยด้วย “การพัฒนาน้ำยาแช่แข็งน้ำเชื้อ” และ “โปรแกรมกำหนดเวลาผสมเทียมในแม่พันธุ์” นอกจากนี้ยังได้พัฒนา “เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) ที่มีความแม่นยำสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์” เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการคัดพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมบริสุทธิ์ สำหรับยกระดับมาตรฐานคุณภาพมะพร้าวน้ำหอมไทย ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมของประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและยั่งยืนในอนาคต

        • C2

          Biodiversity for Sustainable Development

          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้สนับสนุนการสร้างเสริมศักยภาพของนักวิจัยไทยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ การพัฒนาระบบฐานข้อมูล รวมถึงการต่อยอดงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) โดยฝ่ายวิชาการ สกว. ได้สนับสนุนทุนชุดโครงการวิจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Basic Research) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพใน 4 หัวข้อ

        • C3

          The living room research for life

          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยที่มีคุณภาพ พัฒนาองค์ความรู้ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มจธ..ได้ผลิตผลงานวิจัยในหลากหลายสาขาทั้งทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมกรรม รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน โดยการพัฒนาและเพิ่มคุณค่าของทรัพยากรท้องถิ่นให้มีมูลค่าและสามารถสร้างเป็นอาชีพเพื่อให้เกิดความเข็มแข็งในชุมชน ในส่วนของการนำเสนอครั้งนี้ จะนำเสนอถึงการพัฒนาและเพิ่มคุณค่าของทรัพยากรท้องถิ่น

        • C4

          The Value of Biodiversity จากความหลากหลายทางชีวภาพ สู่การนำไปใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่า

          รายละเอียดนิทรรศการ ประกอบด้วย1. สาหร่าย-ผู้ผลิตสารชีวภาพมูลค่าสูง2. นานาประโยชน์จากพืชวงศ์เงาะของไทย3. สารกำจัดศัตรูพืชจากมะแขว่น พืชสมุนไพรล้ำค่า4. ไส้เดือนไทย: ห่วงโซ่แห่งคุณค่า

        • C5

          เครือข่ายพันธมิตรด้านธุรกิจเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Business and Biodiversity Network Alliance) และบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (IUCN Red List of Threatened Species)

          องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชียร่วมกับสำนักงานประจำประเทศไทย ได้เปิดตัวแผนงานเครือข่ายพันธมิตรด้านธุรกิจเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพขึ้น เพื่อสร้างกรอบการทำงานที่ให้ภาคเอกชนมามีบทบาทในดำเนินการด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย

        • C6

          Biodiversity Finance Initiative (BIOFIN)

          The Biodiversity Finance Initiative (BIOFIN) has been launched to support the Royal Thai Government in successfully achieving its national biodiversity targets. The Initiative includes a variety of finance solutions, including resource mobilization, better delivery of financing, reducing future costs and realigning expenditures. Managed by UNDP, BIOFIN is a global partnership that aims to help countries design effective strategies and mobilise resources from the public and private sector to support the conservation and rehabilitation of biodiversity.

        • C7

          โครงการ พรรณพฤกษชาติประเทศไทย (Flora of Thailand)

          เป็นโครงการวิจัยด้านพฤกษอนุกรมวิธานระดับนานาชาติ เพื่อศึกษาและทบทวนพรรณพืชที่มีท่อลำเลียง (Vascular plants) ในประเทศไทยที่มีประมาณ 10,000 ชนิด เป็นความร่วมมือระหว่างนักพฤกษศาสตร์ไทยกับเดนมาร์ก ในปีพ.ศ. 2506 มีการค้นพบพืชชนิดใหม่ของไทย (new records) และพืชชนิดใหม่ของโลก (new species) เช่น เครือเทพรัตน์ เฟรินก้านดำคลองพนม โมกพระวอ มะพลับระนอง หญ้าพันเกลียว นิ้วมือพระนารายณ์ใบขน เป็นต้น ปัจจุบันได้ศึกษาและตีพิมพ์พรรณไม้ของไทยไปแล้ว 222 วงศ์ คิดเป็นร้อยละ 80 คาดว่าจะสิ้นสุดโครงการในปี พ.ศ.2567

        • C8

          Biodiversity and Participation of Community

          พบกับเรื่องราวความหลากหลายทางชีวภาพของป่าใกล้เมืองที่ยังคงอยู่ ไม่ถูกบุกรุกทำลาย และยังเป็นแหล่งอาหารจากป่าให้คนใกล้ป่าและคนในเมืองลำพูน ได้ในหนังสือ ป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าใกล้เมือง และเอกสารเผยแพร่ที่น่าสนใจอีกมากมายที่ บูธ C8 กรมป่าไม้

        • C9

          การกลับมาของเต่ามะเฟือง

          เต่ามะเฟือง เป็นเต่าที่ทะเลมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเต่าทะเล ๕ ชนิด ที่พบได้ในประเทศไทยและยังเป็นเต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นการขึ้นมาวางไข่บนชายหาดของประเทศไทยนานถึง ๕ ปี นับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ในปีที่ผ่านมาและปีนี้ (๒๕๖๑ - ๒๕๖๒) เราพบการขึ้นมาวางไข่ของแม่เต่ามะเฟืองถึง ๓ ครั้ง ที่หาดคึกคัก และหาดท่าไทร จังหวัดพังงา ทำให้มีลูกเต่ามะเฟืองที่สามารถคลานลงสู่ทะเลได้ทั้งสิ้น ๑๒๗ ตัว อันส่งผลสัมฤทธิ์ถึงความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการอนุรักษ์ฟื้นฟูเต่าทะเลที่เป็นสัตว์ทะเลหายาก ซึ่งมีมาตรการต่างๆ ในการปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งวางไข่ และแหล่งหากิน ที่เป็นระบบนิเวศวิทยาที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของเต่ามะเฟือง และในโอกาสแห่งความปีตินี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้ร่วมกับทุกภาคส่วนจัดทำการลงนามในปฏิญญาอนุรักษ์เต่าทะเลแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เพื่อให้กระบวนการมีส่วนร่วมกันทุกภาคส่วน รวม 59 องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และประชาชน โดยเน้นย้ำในกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการร่วมกัน เพื่อรักษาบ้านเกิดให้กับเต่าทะเลได้มีโอกาสกลับมาวางไข่มากยิ่งขึ้นในอนาคต

        • C10

          บทบาทของสวนสัตว์ในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ (Zoo's roles for protecting biodiversity)

          องค์การสวนสัตว์ ช่วยในการรักษาและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการรักษาชนิดพันธุ์และพันธุกรรมสัตว์ป่าหายาก (endangered species) ทั้งของในประเทศไทยและของสากล (international union for conservation of nature, IUCN) และยังเพิ่มจำนวนและความหลากหลายพันธุกรรมของสัตว์ป่าโดยใช้เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology) เข้ามาช่วย ตัวอย่างสัตว์ป่าที่ประสบความสำเร็จแล้ว เช่น การผสมเทียมละมั่ง ผสมเทียมเสือลายเมฆ และการผสมเทียมช้างเอเชีย เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่าที่มีความพร้อมในการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติจะมีการจัดทำ โครงการนำสัตว์ป่าคืนถิ่น (Wildlife Reintroduction) เป็นการเติมความหลากหลายทางชีวภาพลงไปในสภาพแวดล้อมอีกทางหนึ่ง อาทิ โครงการปล่อยนกกระเรียน ซึ่งเป็นการคืนถิ่นสัตว์ป่าในพื้นที่ชุมชนที่มีการอาศัยอยู่ร่วมกับคนในท้องถิ่น รวมถึงการทำโครงการอนุรักษ์และสำรวจความหลากหลายของพันธุกรรมพืชและสัตว์ที่อาศัยตามธรรมชาติของสวนสัตว์ทั่วประเทศ

        • ZONE D
          BIO Wealth Community
          • D1

            Bio-WealthCommunity

            การใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือของการอนุรักษ์ภายใต้ BEDO concept การนำเสนอนโยบายสำคัญในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตัวอย่างความสำเร็จที่นำไปสู่การตลาดที่ทันสมัย

          • D2

            คนต้นน้ำ อาชีพนักอนุรักษ์

            การใช้วิถีท้องถิ่นและทรัพยากรจุดแข็งของชุมชนและมีความร่วมมือในการฟื้นฟูดูแลป่าของชุดมชน

          • D3

            สืบทอดความรู้ สู่ความรัก..Plant Love

            การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อยอดภูมิปัญญาและความเชื่อของคนในพื้นที่เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับคุณแม่ที่ต้องการน้ำนมเพื่อให้กับลูก

          • D4

            กินอิ่ม นอนอุ่น ฝันดีที่น้ำเกี๋ยน

            การใช้พลังและความแข็มแข็งของชุมชนในการแก้ปัญหาในพื้นที่ สร้างรายได้และแบ่งปันในชุมชน จากผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ทรัพยากรเด่นในพื้นที่จนมีชื่อเสียงทั่วประเทศ

          • D5

            ชีวิตบนผืนผ้า

            เทือกเขาภูพานมีชุมชนที่อาศัยอยู่รอบเทือกเขาภูพานซึ่งมีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติชุมชนมีทุนด้านทรัพยากรที่เป็นภูมิปัญญาในการทำการเกษตรแบบธรรมชาติที่สั่งสมความรู้จากประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน

          • D6

            โอบเอื้อ เกื้อชีวิต

            ป่าชายเลน ทำหน้าที่ในการปกป้อและโอบเอื้อสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีการปันรายได้ไปดูแลพื้นที่จึงเป็นเสมือนการช่วยกันดูแลธรรมชาติ

          • D7

            พอเพียงก็เพียงพอ

            ชุมชนได้รับต่อยอดและพัฒนาสินค้าที่มีในชุมชน โดยไม่เปลี่ยนแปลงวิถี หรือสินค้าที่เหมือนพื้นที่อื่นๆ มีความพอใจและพอเพียงในวิถีทะเลของชุมชน

          • D8

            เครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์

            กลไก เครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมผลักดันให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่า โดยกลไกไม้มีค่า ป่าครอบครัว

          • D9

            move with us

            นำเสนอข้อมูล หกเรื่อง ด้วยเทคนิค multi action screen ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพของไทย /ผลิตภัณฑ์ชุมชน/พื้นที่สีเขียว/เส้นทางท่องเที่ยว/GI

          • D10

            Bio -Café

            จัดแสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากชุมชนที่ได้รับตราส่งเสริมฯและการบริการแก่ภาคธุรกิจ ประชาชนที่สนใจเรื่องการทำธุรกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพ

          • D11

            Biogang

            จัดแสดงและสาธิตการย้อม้าครามของเยาวชนในโครงการ ไบโอแกงค์ที่ได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลการประกวดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับเยาวชน ที่สามารถบูรณาการการทำงานของนักเรียน คุณครู ผู้รู้ในชุมชน ในการสอนเด็กๆให้อนุรักษ์และต่อยอดภูมิปัญญาของคนแก่ในชุมชน

          • ZONE E
            Restoration & Utilization
            • E1

              AmiBase: ศูนย์ข้อมูลจุลินทรีย์อาเซียน (AmiBase: ASEAN Microbial Data Center)

              AmiBase : ศูนย์ข้อมูลจุลินทรีย์อาเซียนหรือเอมี่เบส (ASEAN Microbial Data Center) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างเครือข่ายอาเซียนเพื่อวิจัยการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ (AnMicro: ASEAN Network on Microbial Utilisation) และศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพอาเซียน (ACB: ASEAN Center for Biodiversity) โดยมีศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC: Thailand Bioresource Research Center) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานโครงการภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาเซียน (ASTIF: ASEAN Science, Technology and Innovation Fund)

            • E2

              ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (Thailand Bioresource Research Center)

              ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) เป็นศูนย์ที่มีความพร้อมของเทคโนโลยีในการจัดเก็บรักษาและให้บริการจุลินทรีย์และชีววัสดุต่างๆที่ผ่านการวิจัย วิเคราะห์และจัดจำแนกเชิงพันธุกรรมอย่างถูกต้องพร้อมกับชีวสารสนเทศและเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องเพื่อการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบครบวงจร โดยมีบริการ

            • E3

              National Biobank of Thailand

              ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ หรือ NBT เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีพันธกิจหลักในการจัดเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาว (Long-term preservation) ประกอบด้วย วัสดุชีวภาพ (Biomaterial) และข้อมูลทางชีวภาพ (Biodata) มีกระบวนการจัดเก็บที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารจัดการ ดังนั้น NBT จึงเป็นแพลตฟอร์มและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio-based economy) ของประเทศให้ทัดเทียมประเทศคู่แข่งทั้งในปัจจุบันและอนาคต

            • E4

              National Omics Center

              "ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) เป็นศูนย์ที่มีความพร้อมของเทคโนโลยีในการจัดเก็บรักษาและให้บริการจุลินทรีย์และชีววัสดุต่างๆที่ผ่านการวิจัย วิเคราะห์และจัดจำแนกเชิงพันธุกรรมอย่างถูกต้องพร้อมกับชีวสารสนเทศและเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องเพื่อการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบครบวงจร โดยมีบริการที่มีประสิทธิภาพสูงและสะดวกรวดเร็ว ปัจจุบันศูนย์ชีววัสดุประเทศไทยเป็นผู้จัดการคลังชีววัสดุฯให้กับหลายหน่วยงาน

            • E5

              การอนุรักษ์สัตว์ป่า

              นำเสนอผลงานวิชาการในแบบที่ง่ายต่อบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้ ถึงผลกระทบของการพัฒนาเขื่อนต่อสัตว์ป่าหายาก และระบบนิเวศเมืองต่อนกชายเลนและนาก ผ่านการนำเสนอผลงานในรูปแบบวีดีโอ และแนะนำหน่วยงานด้วยโปสเตอร์รูปภาพสัตว์

            • E6

              สองทศวรรษของการศึกษานิเวศวิทยาของป่าเขตร้อนด้วยแปลงวิจัยขนาดใหญ่

              แปลงมอสิงโต เป็นโครงการระยะยาวเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของนิเวศวิทยาป่าเขตร้อนด้วยแปลงขนาดใหญ่ (190 ไร่) ต่อเนื่องมานานกว่า 20 ปี ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ก่อเกิดเป็นข้อมูลขนาดใหญ่อันหนึ่งทางนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม การวิจัยนี้เป็นความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีเครือข่ายของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วโลก ผลการวิจัยก่อให้องค์ความรู้เชิงลึกที่ไขปริศนาอันซับซ้อนของป่าเขตร้อนมากมาย ซึ่งมีผลงานเผยแพร่ในวารสารขั้นนำระดับโลกดังเป็นที่ประจักษ์ แปลงมอสิงโตมีจุดเด่นตรงที่มีการศึกษาความสัมพันธ์กับสัตว์ทีช่วยกระจายเมล็ด โดยเฉพาะชะนี องค์ความรู้ที่เพิ่มพูนจากพื้นที่นี้ ทำให้เกิดงานวิจัยต่อยอดแสดงให้เห็นผลของการสูญพันธุ์สัตว์ช่วยกระจายเมล็ดที่มีขนาดตัวใหญ่ เช่น ชะนี อันมีต่อความหลากหลายของป่า และผลที่มีต่อศักยภาพของป่าในการบรรเทาปัญหาโลกร้อน

            • E7

              การฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง

              คุณค่าความสำคัญของผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งมีบทบาทเป็นแหล่งกักเก็บน้ำและต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เป็นผืนป่าสำคัญต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งสงวนระบบนิเวศตามธรรมชาติอันหลากหลาย การติดตามสถานภาพทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จึงเป็นความท้าทายของนักจัดการและนักอนุรักษ์ เพื่อให้การจัดการป่าไม้ สัตว์ป่าและการฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์

            • E8

              การฟื้นฟูป่า

              ปี พ.ศ. 2537 กรมป่าไม้ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (หน่วยงานหลัก) เชิญชวนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วม“โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50” เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมจำนวน 5 ล้านไร่ทั่วประเทศ โดย ปตท. รับอาสาปลูกป่า จำนวน 1 ล้านไร่

            • E9

              การฟื้นฟูป่าชายเลนโดยใช้นวัตกรรมไม้โกงกางเทียม

              นวัตกรรม "ซีออส" (C-Aoss/CapsultArtoOcean Sediment System) เป็นนวัตกรรมทางเลือกใหม่ในการช่วยเร่งการตกตะกอนของหาดเลนและมีการทดสอบ ทดลองเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี โดยได้ร่วมพัฒนากับ สวทช. NECTEC และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวัตกรรมที่ผ่านการวิจัยแล้ว ได้รับเลือกให้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2560 ที่เร่งตะกอนดินทับถมใน 4 เดือน ทำจากวัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและใช้ยางพาราเป็นส่วนผสม ออกแบบให้มีรากคล้ายโกงกาง ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ต้องศึกษา EIA ติดตั้งง่าย ชุมชนสามารถดำเนินการเองได้

            • E10

              Geoinformation Science for Habitat & Biodiversity

              เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Space Tech. & Geoinformation Science) ในการสำรวจทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้แนวคิด “Delivery Value from Space-Air to Ground” การนำคุณค่าจากอวกาศ-อากาศ สู่พื้นดิน ได้แก่ การประยุกต์เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจทรัพยากร (Earth Observation Satellite) และหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก (Unmanned Aerial System : AUS or Drone) ในการสำรวจและจัดทำแผนที่ทางอากาศ หรือการสำรวจทางอากาศ ได้แก่ แผนที่หญ้าทะเล แผนที่ป่าไม้ แผนที่สัตว์ทะเลหายาก (พะยูน) แผนที่ถิ่นอาศัยช้างป่า เป็นต้น ในรูปแบบสื่อ Digital Multimedia อาทิ VR (Virtual Reality), QR code, 3D object rendering, Web Map Portal

            • E11

              การขยายพันธุ์ปะการังอ่อนจากฟาร์มต้นแบบ เพื่อใช้ประโยชน์ในการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล และการสร้างแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลเชิงนิเวศ

              คณะนักวิจัยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน (Soft corals) ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ปะการังอ่อนเป็นสัตว์ทะเลประเภทสวยงามชนิดใหม่ในวงการปลาตู้น้ำทะเลประเภทสวยงาม(Marine aquarium trade & reef tank) เชิงการค้าของประเทศไทยในอนาคต และเพื่อการใช้ประโยชน์ในการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงนิเวศในรูปแบบ "กองหินปะการังอ่อน"

            • E12

              การซ่อมแซมและปรับปรุงโพรงรังนกเงือกโดยชุมชน

              การซ่อมแซมและปรับปรุงโพรงรังนกเงือกในผืนป่าฮาลา-บาลา ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

            • E13

              BIOTEC-Novartis Research Partnership and Collaboration

              BIOTEC-Novartis Research Collaboration and Partnership started in 2005 and has been one of the successful scientific partnership between Local academic institute and Global pharmaceutical company. Over 10 year of collaboration, the collection of microorganisms has been substantially expanded with the discovery of many new novel natural products. Knowledge transfer and human resource develop has also been achieved through on-site training and internship programs.

            • E14

              เห็ดเศรษฐกิจของไทย

              นำเสนอเห็ดเศรษฐกิจของประเทศไทย เพาะเลี้ยงง่าย สร้างรายได้ในครัวเรือน แสดงผลิตภัณฑ์จากเห็ด เช่น น้ำเห็ด เยลลี่เห็ด เฉาก๊วยเห็ด เห็นเป็นยา เป็นอาหาร สถานการณ์การผลิตเห็ดของประเทศไทย นำชนิดเห็ดที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก่ นางนวล (ชมพู) เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า นางรมทอง หูหนู ขอนขาว เห็ดลม และเห็ดตีนแรด มาจัดแสดง

            • E15

              Herbs & Health

              ลูกชิ้นเห็ด ผลิตโดยใช้โปรตีนสกัดจากถั่วเหลืองผสมเห็ด เช่น เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้า เห็ดแครง เห็ดหอม และเห็ดเข็มทอง โดยมีเนื้อสัมผัสใกล้เคียงกับลูกชิ้นที่ทำจากเนื้อสัตว์  เป็นได้ทั้งอาหารทานเล่นหรืออาหารหลักมีคุณค่าทางโภชนาการสูง

            • E16

              Smart Patrol เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความมั่นคงของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

              ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าที่สำคัญๆ เช่น เสือโคร่ง ช้างป่า กระทิง ไม้พะยูง ไม้กฤษณา เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าสูง และมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ แต่ในความเป็นจริงสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่มีมูลค่าสูงเหล่านี้ ถูกลักลอบล่า หรือตัดฟันจนเกือบจะสูญพันธุ์ แม้ว่าจะมีกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลรักษา หากแต่ยังขาดประสิทธิภาพในการทำงาน จึงทำให้หลายประเทศพัฒนาระบบการลาดตระเวนโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และระบบสารสนเทศเพื่อเสริมการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เรียกว่า Smart Patrol หรือ ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีคุณภาพทำให้เกิดประสิทธิภาพอย่างชัดเจน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ 1) มีเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนที่ได้รับการฝึกฝนอย่างชำนาญและมีขนาดพอเหมาะกับพื้นที่ 2) มีสายข่าวที่เข้มแข็ง 3) มีอุปกรณ์ทันสมัยและการสนับสนุนการลาดตระเวนที่เพียงพอ 4) มีระบบฐานข้อมูลที่ได้มาตรฐาน 5) มีการนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนและจัดการอย่างจริงจัง องค์ประกอบเหล่านี้ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถดูแลทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สัตว์ป่าและพืชมีค่าใกล้สูญพันธุ์เหล่านั้นรอดพ้นจากการคุกคามและความไม่ใส่ใจของมนุษย์ ทำให้สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศ เกิดเป็นระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่สังคมโดยรวมตลอดไป

            • ZONE F
              Actions Toward Sustainable Management
              • F1-F3

                ความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างอาหาร เสริมสุขภาพ (Our Biodiversity, Our Food, Our Health)

                นิทรรศการในโซนนี้จะนำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ บนพื้นฐานของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เน้นถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพในวิถีชีวิตของคนไทย โดยเชื่อมโยงระบบนิเวศต่าง ๆ เข้ากับวิถีชีวิต อาหารการกิน และภูมิปัญญาของท้องถิ่นนั้น ๆ ดังคำขวัญวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปี พ.ศ. 2562 “ความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างอาหาร เสริมสุขภาพ (Our Biodiversity, Our Food, Our Health)” เนื้อหานิทรรศการจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ สุขภาพที่ดีเริ่มจากระบบนิเวศที่ดี (Healthy ecosystems create wellbeing for all) ความสำคัญและสถานภาพหลากหลายทางชีวภาพ (Importance and status of biodiversity) การขับเคลื่อนนโยบายและแผนสู่การจัดการที่ยั่งยืน (Policy actions toward sustainable management)

              • ZONE G
                BIO Market & Sponsored
                • ZONE H
                  Ecotourism & Geopark
                  • H1

                    Responsible Tourism (Zero Waste Tourism)

                    เป็นการนำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม เคารพความเป็นชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีกระบวนการมุ่งสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

                  • H2

                    What is Geopark

                    อุทยานธรณีเป็นมรดกทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สู่ ชุมชน สังคมในท้องถิ่น ผ่านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ส่งผลให้มรดกทางธรรมชาติเกิดการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

                  • H3

                    The biggest stronghold of green peafowl in the world

                    การเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ให้ "คนอยู่ได้ นกยูงอยู่ได้" เชื่อมโยงธรรมชาติ วัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

                  • H4

                    การอนุรักษ์หอยตะเภา

                    นำเสนอองค์ความรู้ด้านชีววิทยาและนิเวศวิทยาของหอยตะเภา การอนุรักษ์และการจัดการร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อการประมงและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

                  • H5

                    การท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศรอบอ่าวปัตตานี

                    นำเสนอการท่องเที่ยวเชิงนิเวศรอบอ่าวปัตตานี โดยมีชุมชน และหน่วยงานต่างๆ มาร่วมบูรณาการ ซึ่งมีการดำเนินงานโดยชุมชน

                  • H6

                    การท่องเที่ยวชุมชน (Biotourism)

                    นำเสนอกระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวจากความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการบริหารจัดการของชุมชน กิจกรรมการท่องเที่ยวพื้นที่กุยบุรี

                  • ZONE I
                    Biodiversity in Thailand
                    • ZONE Z
                      New Zone Test